โครงการครูเพศวิถีพันธุ์ใหม่สำหรับวัยรุ่น

รายละเอียด

ระยะเวลาการดำเนินงาน

2 ม.ค.63 – 16 มี.ค.63

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพศวิถีแก่ครู และผู้บริหารในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตบางกอกน้อย

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและผู้บริหารในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตบางกอกน้อย

รายละเอียดกิจกรรม

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานการจัดอบรม

1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานการจัดอบรม จำนวน 8 วัน ได้แก่ วันที่ 2, 4, 6, 8,14,20,29 มกราคม 2563 และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563

1.2 ประชุมวางแผนการดำเนินงานกับผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 6 วัน ได้แก่ วันที่ 2,6,7,28,31 มกราคม 2563, 4 กุมภาพันธ์ 2563

2. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูและผู้บริหารในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตบางกอกน้อย จำนวน 4 โรงเรียน

2.1 จัดอบรมให้กับโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 3 วัน ได้แก่ วันที่ 10,11,18 มกราคม 2563

2.2 จัดอบรมให้กับโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำนวน 3 วัน ได้แก่ วันที่ 2-4 มีนาคม 2563

2.3 จัดอบรมให้กับโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตารามและโรงเรียนสวนอนันต์ จำนวน 3 วัน ได้แก่ วันที่ 6-8 มีนาคม 2563

3. การประเมินผลก่อนและหลังการอบรมด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก

4. นำข้อมูลจากการสนทนากลุ่มที่ได้มาออกแบบการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในโรงเรียนต่อไป

ผลที่ได้รับ

1. ครูและผู้บริหาร ที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะครูเพศวิถี จากโครงการฯ ทั้งหมด จำนวน 214 คน โดยผ่านหลักสูตรการอบรม 1 วัน จำนวน 145 คน หลักสูตรการอบรม 3 วัน จำนวน 69 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่ม 1 ครูทั่วไป(ทั้งโรงเรียน) จำนวน 145 คน จากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม โรงเรียนสวนอนันต์ ได้รับการประเมินผลลัพธ์ความรู้และทัศนคติเชิงบวกต่อการเรื่องเพศวิถีเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศวิถีศึกษาให้แก่ครูทั้งโรงเรียนและดังนี้

– ความรู้เรื่องเพศวิถี ร้อยละ 86

– ทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนเรื่องเพศวิถี ร้อยละ 99

กลุ่มที่ 2 ครูแกนนำ (คัดเลือกจากความสมัครใจและเป็นครูประจำชั้น ครูสุขศึกษา ครูแนะแนว ครูพละศึกษา) จำนวน 69 คน จากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม และโรงเรียนสวนอนันต์ ได้รับการประเมินผลลัพธ์เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรูเพศวิถีศึกษา ที่ได้รับจากการอบรมในโครงการดังนี้

– ความรู้เรื่องเพศวิถี ร้อยละ 87

– ทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนเรื่องเพศวิถี ร้อยละ 100

– ความรู้ในการสอนเพศวิถีศึกษา ร้อยละ 98 – ความรู้ในการประเมินผลการสอนเพศวิถีศึกษา ร้อยละ 75

– ความรู้ในการให้คำปรึกษาเรื่องเพศ ร้อยละ 96

– ทักษะในการให้คำปรึกษาเรื่องเพศ ร้อยละ 90

– ครูแสดงทักษะการสอนผ่านการประเมินโดยการสังเกตร้อยละ 98

– ครูแสดงทักษะการให้คำปรึกษาทางเพศผ่านการประเมินโดยการสังเกตร้อยละ 90

2. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มจากผู้บริหารและครูแกนนำ พบว่า การจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในโรงเรียนมีอุปสรรคหลายด้าน ได้แก่

– สมรรถนะครูผู้สอน

– หลักสูตรเพศวิถีศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

– สื่อการสอน

– การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาจากผู้ปกครอง อย่างไรก็ตามครูที่ผ่านการอบรมมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะเริ่มการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาให้กับนักเรียน

3. สื่อเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้และการให้การปรึกษาทางเพศสำหรับครูใน FACEBOOK ครูเพศวิถีพันธ์ใหม่