โครงการผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ กับการควบคุมตนเองในการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนวัยแรงงานในชุมชน

รายละเอียด

ระยะเวลาการดำเนินงาน

2 ม.ค.63 – 16 มี.ค.63

วัตถุประสงค์

1. ประชาชนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการอบรม เรื่องการสร้างแรงจูงใจในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการสร้างแรงจูงใจในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3. ประชาชนมีความตั้งใจในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลอฮอล์ และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระยะหลังการอบรมเสร็จสิ้น

4. ประชาชนมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมอบรม

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย

รายละเอียดกิจกรรม

1. ลงสำรวจพื้นที่ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ในเขตชุมชนบางกอกน้อย (Observation survey and analysis) จำนวน 4 ครั้ง

• ครั้งที่ 1 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563

• ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มีนาคม 2563

• ครั้งที่ 3 วันที่ 8 มีนาคม 2563

• ครั้งที่ 4 วันที่ 15 มีนาคม 2563

โดยทีมวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ประธานชุมชนวัดโพธิ์เรียง และงานกิจกรรมเพื่อสังคม

2. หลังจากทำการสำรวจพื้นที่ ได้ทำการนัดหมายกับประธานขุมขน อสม อสส และประชาชนในชุมชน ในช่วงเวลา 8-12 น.

3. นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ ความรู้ ทัศนคติ ต่อการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ และพฤติกรรมการดื่มแอกลกอฮอล์ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ กับการควบคุมตนเองในการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนวัยแรงงานในชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อค้นหาศักยภาพสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

4. จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ในชุมชนวัดโพธิ์เรียง และประเมินผลหลังการอบรม • วันที่ 15 มีนาคม 2563

ผลที่ได้รับ

1. ผลการดำเนินงาน โดยทำกิจกรรม ในชุมชนวัดโพธิ์เรียง ได้ข้อมูลและประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้

1.1. จำนวนกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการ เฉลี่ยจำนวน 44 คน เป็นวัยทำงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาร่วมโครงการอบรมและกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีบุคคลในครอบครัวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

1.2. ผู้ร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลดีต่อสุขภาพจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจร่วมกับมีการควบคุมตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยการได้รับการสนับสนุนและได้รับกำลังใจจากบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านในชุมชน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีแรงบันดาลใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีความตั้งใจที่จะเลิกหรือหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพตนเอง และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัวให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

1.3. ผู้ร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมร้อยละ 69.77 --> 70

1.4. งานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100