โครงการพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

รายละเอียด

ระยะเวลาการดำเนินงาน

1 พฤศจิกายน – 24 พฤษภาคม 2566

วัตถุประสงค์

1 เพื่อส่งเสริมวิทยากรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้มีความรู้ความมั่นใจที่จะนำทักษะและความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ หรือฟื้นฟูดูแลที่มีมาใช้ดูแลครอบครัว และคนในชุมชนได้ในระยะยาว

2. เพื่อส่งเสริมสมาชิกในชุมชนเล็งเห็นประโยชน์ของการดูแลฟื้นฟูสุขภาพ และเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ และพัฒนากิจกรรมทางด้านสุขภาพของชุมชนเพื่อชุมชนต่อไป

3. วิทยากรชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมมีทักษะและความรู้ทางด้านการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพกายและใจ

4. วิทยากรชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมมีความมั่นใจที่จะนำทักษะและความรู้ที่มีมาใช้ดูแลครอบครัว และคนในชุมชนได้ในระยะยาว

5. วิทยากรชุมชนและคนในชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย การฟื้นฟูดูแลตนเอง และสภาพจิตใจ

6. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้/ แตกฉานทางด้านสุขภาพ

7. กลุ่มตัวแทนสมาชิกชุมชนพัฒนา และผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนแบบยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

1. ผู้สูงอายุชุมชนตรอกข้าวเม่าผ่านการอบรมการเป็นวิทยากรชุมชน และสมาชิกในชุมชนที่มีความถนัดหรือสนใจในเรื่องที่จัดขึ้น จำนวน 30 คน

2. ผู้สูงอายุชุมชนตรอกข้าวเม่า ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยติดเตียง และครอบครัวผู้พิการ/ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชน จำนวน 50 คน

3. บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสนใจด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน เช่น แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาทีมสหสาขา จำนวน 50 คน

รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรม 1 กิจกรรม World café

ระยะเวลาที่จัด เดือนที่ 1 ของโครงการ

รายละเอียด เพื่อค้นหาปัญหาหลักทางด้านสุขภาพกายและจิตใจที่แท้จริงของชุมชน เพิ่มการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างยั่งยืน และวัดประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพพื้นฐานของคนในชุมชน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมวิทยากรชุมชนหรืออาสาสมัครชุมชน 36 กิจกรรม

ระยะเวลาที่จัด เดือนที่ 2 – 4 ของโครงการ

รายละเอียด ให้ความรู้สอนทักษะการฟื้นฟูดูแลสุขภาพกายและใจของคนในชุมชน โดยมีกิจกรรมของหน่วยกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด กายอุปกรณ์ จิตวิทยาการปรึกษาและนันทนาการบำบัด

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพและเสริมพลังให้แก่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และผู้สูงอายุในชุมชนไปสู่ Independent Living และกิจกรรมเข้าใจเรียนรู้ความแตกต่างของผู้พิการ 2 กิจกรรม และให้คำปรึกษาตลอดโครงการ

ระยะเวลาที่จัด เดือนที่ 2-4 ของโครงการ

รายละเอียด

– กิจกรรมให้ความรู้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

– กิจกรรมให้ความรู้แก่วิทยากรชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการในชุมชน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy)

ระยะเวลาที่จัด เดือนที่ 2 – 4 ของโครงการ

รายละเอียด กรมอนามัยเข้ามาช่วยจัดกิจกรรมดังนี้

– การประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพทั่วไป

– การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องชุมชนพึ่งพาตนเอง

– การเล่าสู่กันฟังในเรื่อง ชุมชนมีสุข

– การจำลองสถานการณ์ “เมื่อเราต้องช่วยเหลือตนเองและคนใกล้ชิดในยามที่มีปัญหาด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ”

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมให้วิทยากรชุมชนที่ผ่านการอบรม หรืออาสาสมัครฟื้นฟู ลงมือดูแลชุมชนด้วยตนเอง โดยใช้วิธีเยี่ยมบ้านในชุมชนตรอกข้าวเม่า 30 ครั้ง

ระยะเวลาที่จัด เดือนที่ 4 – 6 ของโครงการ

รายละเอียด

– ในการเยี่ยมบ้านของวิทยากรชุมชน จะมีทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษา (Teach back) และมีสื่อวิดิทัศน์เป็นเครื่องมือ

– มีกิจกรรม group interview/ reflection ทุก 1 เดือน ทั้งที่เป็นรูปแบบ on-site และ online

– มีกิจกรรมเสริมพลังโดยทีม Independent living พุทธมณฑลเข้ารับฟังปัญหาของผู้พิการอย่างลึกซึ้ง และเสริมพลังให้แก่ผู้พิการ

กิจกรรมที่ 6 การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine

ผลที่ได้รับ

ประมวลภาพ world cafe ครั้งที่ 1

ประมวลภาพกิจกรรม Independent living

ประมวลภาพกิจกรรม world cafe ครั้งที่ 2 และมอบประกาศนียบัตร

ประมวลภาพกิจกรรมอบรมทักษะความรู้