รายละเอียด
ระยะเวลาการดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 มิถุนายน 2564
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครจักรยานยนต์รับจ้างต่อการเพิ่มอัตราการได้รับการกดหน้าอกก่อนรถพยาบาลมาถึง
กลุ่มเป้าหมาย
อาสาสมัครจักรยานยนต์รับจ้าง
รายละเอียดกิจกรรม
ผู้วิจัยศึกษาผลของการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครจักรยานยนต์รับจ้างต่อการเพิ่มอัตราการได้รับการกดหน้าอกก่อนรถพยาบาลมาถึง โดยนำข้อมูลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในชุมชนเขตบางกอกน้อยปี พ.ศ. 2561 จำนวน 127 ราย และ ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 187 ราย มาเปรียบเทียบตามแต่ละหัวข้อ ดังนี้
1. อัตราการใช้บริการรถพยาบาลของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินศิริราช
2. อัตราการได้รับการกดหน้าอก (CPR) ก่อนรถพยาบาลมาถึง (Bystander CPR)
3. อัตราการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automatic external defibrillator; AED)
4. อัตราของผู้ป่วยที่รักษาแล้วสามารถกลับบ้านได้หรือรอดชีวิต 30 วัน (30-day survival)
ผลที่ได้รับ
การมีเครือข่ายอาสาสมัครจักรยานยนต์รับจ้าง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเพิ่มอัตราการได้รับการกดหน้าอกก่อนรถพยาบาลมาถึง ในชุมชนกึ่งเมือง แต่ยังไม่ส่งผลให้เพิ่มอัตราของผู้ป่วยที่รักษาแล้วสามารถกลับบ้านได้หรือรอดชีวิต 30 วัน (30-day survival) เนื่องจากยังมีจุดพัฒนาในระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลอีกหลายจุด เช่น การเพิ่มอัตราการใช้ AED และประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยของทีมรถพยาบาลฉุกเฉิน เป็นต้น