รายละเอียด
ระยะเวลาการดำเนินงาน
11 ตุลาคม 2565 – 24 พฤษภาคม 2566
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูงและสามารถควบคุมความดันโลหิตขณะอยู่บ้านให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (BP < 135/85 mmHg) ได้อย่างยั่งยืน
2. เพื่อประเมินจำนวนปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น (QALY gained) ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
3. เพื่อพัฒนา Web based application ต้นแบบในการดูแลสุขภาพและติดตามค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีประวัติความดันโลหิต (BP ≥ 140/90 mmHg) อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (กระทรวงสาธารณสุข, 2557)
เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
1. อายุ 35 ปีขึ้นไป (กรณีที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปต้องมีภาวะการรู้คิดปกติ)
2. มีค่าความดันโลหิต (BP ≥ 140/90 mmHg) อย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
3. อาจจะไม่มี/หรือมีภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง เช่น อัมพาต โรคไตในระยะที่ยังไม่ฟอกไต และโรคหัวใจ
4. ได้รับการรักษาด้วยวิธีการใช้ยาลดระดับความดันโลหิตสูง
5. มีโทรศัพท์ที่สามารถใช้งาน Web based application และสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
6. อาศัยอยู่ในชุมชนเขตบางกอกน้อย จำนวน 60 คน โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเชิงพื้นที่ (Area based)
ชุมชน
1.ชุมชนคลองล่าง
2.ชุมชนวัดมะลิ 1
3.ชุมชนวัดมะลิ 2
4.ชุมชนปลายซอยจรัญสนิทวงศ์ 29 ฝั่งขวา
5.ชุมชนปลายซอยจรัญสนิทวงศ์ 29 ฝั่งซ้าย
6.ชุมชนวัดพระยาทำ
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรม 1: ประชุมคณะทำงานร่วมกับอาสาสมัครชุมชน (อสส.) เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายมาร่วมโครงการ และกำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรม
รายละเอียด
1. อธิบายรายละเอียด วัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่อาสาสมัครชุมชน (อสส.)
2. อธิบายลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งมอบหมายให้ทางอาสาสมัครชุมชน (อสส.) เป็นผู้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาเข้าร่วมโครงการตามวันเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมายังงานกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)
3. ปรึกษาหารือกับอาสาสมัครชุมชน (อสส.) เพื่อกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดโครงการ
กิจกรรมที่ 2: การพัฒนา Web based application
รายละเอียด
1. ประชุมคณาจารย์จากภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล เกี่ยวกับผลการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) ของโครงการเดิม เพื่อกำหนดเนื้อหาและฟังก์ชั่นในแอพพลิเคชั้น
2. ประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ในการออกแบบ Web based application
3. ผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ออกแบบระบบ และพัฒนา Web based application
4. ประเมินคุณภาพของ Web based application
กิจกรรมที่ 3: ดำเนินการโครงการตามแผนที่วางไว้ จัดกิจกรรม: อบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 ครั้ง วัน/เวลา: เสาร์ หรือ อาทิตย์ เวลา 08.00 – 12.00 น.
รายละเอียด
สัปดาห์ที่ 1:
– ให้สุขศึกษา
– กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและ บริการ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ)
– แนะนำวิธีการใช้ Web based application และฟังชั่นก์ต่าง ๆ
สัปดาห์ที่ 4:
– อภิปรายกลุ่มเพื่อประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง
– แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับความดันโลหิต
– กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ
กิจกรรมที่ 4: การสนทนากลุ่มเพื่อถอดบทเรียน
รายละเอียด
จัดกิจกรรม: จำนวน 1 ครั้ง สัปดาห์ที่ 12 วัน/เวลา: เสาร์ หรือ อาทิตย์ เวลา 08.00 – 12.00 น.
ผลที่ได้รับ