โครงการ การเพิ่มสมรรถภาพทางกายภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะก่อนเปราะบางฯ

รายละเอียด

ระยะเวลาการดำเนินงาน

พฤศจิกายน 2562 – มีนาคม 2563

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพทางกายจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ผ่านบริการการแพทย์ทางไกล ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะก่อนเปราะบางในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

1. ผู้เข้าร่วมวิจัยอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

2. ได้รับการประเมินภาวะเปราะบางโดย Simple Frail Questionnaire Thai version พบมีภาวะก่อนเปราะบาง (ได้คะแนน 1-2 คะแนน)

3. ไม่มีภาวะสมองเสื่อมที่มีผลต่อการเรียนรู้การออกกำลังกาย (TMSE > 23 คะแนน)

4. สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ไม่มีปัญหาเรื่องการมองเห็นหรือได้ยินที่รุนแรง

รายละเอียดกิจกรรม

หลังทำกระบวนการสุ่มแล้ว ผู้วิจัยจะแบ่งกลุ่มวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง(Intervention) จะได้รับการ multicomponent physical exercise program ผ่าน telemedicine และกลุ่มควบคุม (Control)

เป็นการดูแลแบบ conventional โดยทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับโปรแกรมตรวจวัดการก้าวเดิน และโปรแกรมการให้ความรู้ดังนี้ โปรแกรมการให้ความรู้และการวัดการมีกิจกรรมทางกาย

– อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้รับการให้ความรู้การดูแลตัวเอง ด้านร่างกาย จิตใจ ส่งเสริมการออกกำลังกายและโภชนาการ จากทีมสหวิชาชีพ จำนวน 4 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 6 และ 12 โดยมีการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเป็นส่วนเสริมในการให้ความรู้

– อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้อุปกรณ์นาฬิกาข้อมือซึ่งมีคุณสมบัติในการตรวจวัดชีพจรแบบต่อเนื่อง บันทึกกิจกรรมทางกาย และตรวจนับจำนวนก้าวเดิน เพื่อติดตามและบันทึกข้อมูลของอาสาสมัคร จากนั้นจะมีการประเมินตรวจติดตามที่ 6 และ 12 สัปดาห์ โดยนัดหมายอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มเพื่อมาทำแบบประเมินโดยการสัมภาษณ์จากผู้ร่วมวิจัย ตรวจวัดร่างกาย และสมรรถภาพโดยทีมพยาบาลและนักกายภาพการตรวจติดตามแต่ละครั้งสามารถทำในครั้งเดียวได้ในทุกการประเมินใช้เวลา 45 – 60 นาทีและในสัปดาห์ที่ 12 จะมีการให้อาสาสมัครทำแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบการแพทย์ทางไกล

ผลที่ได้รับ

หลังจากอาสาสมัครเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้จากทีมสหวิชาชีพ ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า

– อาสาสมัครในกลุ่มทดลอง(Intervention) มีคะแนน การประเมิณสมรรถภาพ SPPB (Short Physical Performance Battery) สูงกว่า กลุ่มควบคุม (Control) อย่างมีนัยสำคัญ (11.77±0.57 vs 11.39±1.16; p=0.029).

– ผลลัพธ์ด้านอื่นที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 12 สัปดาห์ในกลุ่มควบคุมได้แก่ Frailty score , sit and reach test, Timed Up and Go Test, 2-minute walk test, and handgrip strength

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของสมรรถภาพทั้ง 2 กลุ่ม ในการประเมินติดตามในสัปดาห์ที่ 6 (11.31±1.16 vs 10.85±1.60; p=0.079)