รายละเอียด
ระยะเวลาการดำเนินงาน
กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีการออกกำลังกายร่วมกันโดยการก้าวเดินเพิ่มมากขึ้น
2.เพื่อเพิ่มความสามารถด้านความรอบรู้การใช้เทคโนโลยีสุขภาพ (eHealth literacy)
กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนในเขตบางกอกน้อย
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 : กิจกรรมตรวจประเมินร่างกาย และติดตั้ง แอพพลิเคชันติดตามก้าวเดิน ก่อนเข้าร่วมโครงการ
วันที่ 20 – 23 กุมภาพันธ์ 2563
– ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดันโลหิต
– ระดับน้ำตาลในเลือด(FBS)
– ตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อและไขมัน
– ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพและการเดินเพื่อสุขภาพ
วันที่ 27 – 29 กุมภาพันธ์ 2563
กิจกรรมที่ 3 : ติดตามจำนวนก้าวเดินในแอพพลิเคชัน และตอบคำถามการใช้งานแอพพลิเคชัน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม 2563
กิจกรรมที่ 4 : กิจกรรมให้ความรู้ พร้อมทำกิจกรรมออกกำลังกาย ( Stretching exercise )
วันที่ 6 – 8 มีนาคม 2563
ผลที่ได้รับ
ตัวชี้วัดและเป้าหมายโครงการ
จากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563 พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 108 คน
โดยพบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยเหมาะสมกับช่วงวัย
จากการเสริมสร้างความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้เขาร่วมโครงการ พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
มีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านภาวะโภชนาการและความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้น
มีระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ที่ 4 คะแนน(เต็ม 5)
สรุปข้อมูล
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 108 ท่าน
เพศหญิง 99 คน (92% )
ชาย 9 คน (8% )
จากผู้เข้าร่วมโครงการมีอายุเฉลี่ย 64 ปี
มีการส่งข้อมูลก้าวเดิน 98 คน (90%)
——————————————————
การสรุปจำนวนก้าวเดินทั้งหมดของผู้เข้าร่วมโครงการ 23,199,016 ก้าว
จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยต่อวันทั้งหมด 773,300 ก้าวต่อวัน
จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยต่อคนตลอดโครงการ 236,724 ก้าวต่อคน
จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยต่อคนต่อวันตลอดโครงการ 7,380 ก้าวต่อคนต่อวัน
(โดยปกติผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง ควรมีก้าวเดินเฉลี่ย วันละ 2,000-9,000 ก้าว)