โครงการ การพัฒนาต้นแบบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีและการให้การปรึกษาทางเพศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

รายละเอียด

ระยะเวลาการดำเนินงาน

26 กันยายน 2565 – พฤษภาคม พ.ศ.2566

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนับสนุนกระบวนสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพผ่านระบบฐานข้อมูลสุขภาพ

2. เพื่อส่งเสริมเครือข่ายวิชาการต่างๆ ในการขยายผลองค์ความรู้เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการขับเคลื่อนและสังเคราะห์การใช้ประโยชน์

3. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีสำหรับวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา

4. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดตั้งคลินิกการให้การปรึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา

5. เพื่อพัฒนาความรอบรู้เรื่องเพศวิถีของวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา

6. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา

7. เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทักษะการสื่อสารทางเพศวิถีแก่วัยรุ่นตอนต้นในกลุ่มครูแกนนำก่อนและหลังทดลอง

8. เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติเรื่องเพศวิถีของผู้ปกครองวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาก่อนและหลังทดลอง

9. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

1) วัยรุ่นตอนต้นที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-2 รวมทั้งหมด 480 คน ประกอบด้วย

• นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำนวน 240 คน

• นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 240 คน

2) กลุ่มครูแกนนำ 20 คน ประกอบด้วย

• ครูจากโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำนวน 10 คน

• ครูจากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 10 คน

3) ผู้ปกครองจำนวน 480 คน ประกอบด้วย

•โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำนวน 240 คน

•โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 240 คน และเชิญชวนผู้ปกครองเป็นแกนนำ

•โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำนวน 20 คน

• โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จำนวน 20 คน

รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรม 1 การเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1.1ประชุม ปรึกษาหารือ วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีในโรงเรียน ค้นหาปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง ข้อควรพัฒนาความต้องการการสนับสนุน และการจัดตั้งคลินิกการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพวัยรุ่นจำนวน 2 ครั้ง (2 โรงเรียน)

1.2 ประชุม ปรึกษาหารือ วิเคราะห์สถานการณ์ผู้ปกครองและชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีที่โรงเรียน ค้นหาปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง ข้อควรพัฒนาความต้องการการสนับสนุนจำนวน 1 ครั้ง (2 โรงเรียน)

1.3 ประชุม ปรึกษาหารือ วิเคราะห์ วางแผนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีตามคู่มือที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และร่วมสร้าง flow chart การส่งต่อนักเรียนไปยังสถานบริการสุขภาพ จำนวน 2 ครั้ง

1.4 เตรียมครูในการจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษาตามคู่มือฯ ในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเวลา 1 วัน มีรายละเอียดดังนี้

– ทบทวนการจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษาตามคู่มือฯ และการออกแบบการสอนเป็นของครูเอง

-การคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้าตามแบบประเมิน 9Q ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

– จัดการเสวนาเรื่องแนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีสำหรับวัยรุ่น เพื่อให้ได้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูและผู้ปกครอง ระยะเวลา 2 ชั่วโมง ผ่านระบบออนไลน์

1.5 ประเมินสมรรถนะครูด้วยแบบสอบถามและสถานการณ์จำลอง ก่อน-หลังครูจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษา

1.6 ติดตามและสนับสนุนครูในการจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษาตามคู่มือฯ เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา

1.7 ถอดบทเรียนร่วมกับครูแกนนำขณะและหลังดำเนินการจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษาตามคู่มือฯ

1.8 สนทนากลุ่มครูแกนนำจำนวน 1 ครั้งหลังครูจัดการเรียนรู้และให้คำปรึกษา

1.9 สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 ครั้ง

กิจกรรม 2

2.1 ประเมินภาวะสุขภาพ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังทดลอง

2.2 ประเมินพฤติกรรมการชะลอการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัย การใช้การคุมกำเนิด ด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังทดลอง

2.3 ประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพของนักเรียนด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังทดลอง

2.4 จัดการเรียนรู้เพศวิถีและคลินิกให้คำปรึกษาระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา

2.5 สนทนากลุ่มนักเรียนหลังการทดลอง

กิจกรรมที่ 3

3.1 จัดอบรมเชิงจิตวิทยาเรื่องเพศวิถีจำนวน 1 ครั้ง โดยให้ผู้ปกครองกลุ่มทดลองทำแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม

3.2 จัดให้แกนนำผู้ปกครองจำนวน 40 คน มีส่วนร่วมในการวิพากษ์หลักสูตรและมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีบนแพลตฟอร์ม social media

3.3 สนทนากลุ่มผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 5

นำรูปแบบการสนับสนุนครูในการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีและการให้การปรึกษานักเรียนในโรงเรียนเผยแพร่กับผู้รับผิดชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

กิจกรรมที่ 6

จัดเวทีขยายผลการดำเนินโครงการวิจัยจำนวน 1 ครั้ง

กิจกรรมที่ 7

เผยแพร่วารสารวิจัยในวารสารวิชาการ

ผลที่ได้รับ

ประมวลภาพโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง

ประมวลภาพโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม